1. ในด้านอักษรศาสตร์ นับเป็นวรรณคดีที่ใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ
ปลุกอารมณ์ร่วมได้ทุกอารมณ์ เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น ๆ
มากอย่างบทเสียงลือเสียงเล่าอ้างที่ว่า
“เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร
ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล
ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า
อย่าได้ถามเผือ”
แปลความว่า มีเสียงร่ำลืออ้างถึงอะไรกัน
เสียงนั้นยกย่องเกียรติของใครทั่วทั้งพื้นหล้าแผ่นดิน พี่ทั้งสองนอนหลับใหล
จนลืมตื่นหรือพี่ พี่ทั้งสองจงคิดเอาเองเถิด อย่าได้ถามน้องเลย บทนี้เขานับเป็นบทครูที่วรรณคดียุคต่อมาต้องนำมาเป็นแบบอย่าง
2. ในด้านพระศาสนา ได้ให้แง่คิดทางศาสนาอย่างเช่นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตซึ่งเป็นของแน่ยิ่งกว่าแน่เสียอีก
อย่างบทที่ว่า
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง
เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรังตรึง แน่นอยู่นา
ตามแต่บุญบาปแล ก่อเกื้อรักษา
หรือบทที่ว่าด้วยกฎแห่งกรรม
ถึงกรรมจักอยู่ได้ ฉันใด พระเอย
กรรมบ่มีมีใคร
ฆ่าเข้า
กุศลส่งสนองไป
ถึงที่ สุขนา
บาปส่งจำตกช้า
ช่วยได้ฉันใด
3. ในด้านการปกครอง จะเห็นว่าการปกครองในสมัยนั้น
ต่างเมืองต่างก็เป็นอิสระ เป็นใหญ่ ไม่ขึ้นแก่กัน แต่สามารถมีสัมพันธไมตรีกันได้
4. ในด้านประวัติศาสตร์ ลิลิตพระลอได้ให้ความรู้ในทางประวัติศาสตร์ของไทยได้ในแง่มุมต่าง
ๆ โดยเฉพาะทำให้รู้เรื่องราวความเป็นมาของเมืองสรวงและเมืองสรองอันได้แก่
ลำปางและแพร่
5. ในด้านวิถีชีวิต ได้มองเห็นถึงความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้นที่ยังเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มากมีการนับถือผีสางนางไม้
แม้ปัจจุบันก็ยังมีอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น