ความเป็นมาของลิลิต

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลิลิตพระลอ

      ไม่ปรากฏแน่ชัด โดยสืบค้นได้เก่าสุดถึง สมัยอยุธยา ได้แก่ ลิลิตยวนพ่าย และลิลิตพระลอ (สำหรับอายุของลิลิตพระลอยังเป็นที่ถกเถียง ยังไม่ยุติ) แต่ถ้าจะนับอย่างธรรมเนียมลิลิตแล้ว น่าจะมีเพียงลิลิตพระลอ เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น เนื่องจากในยวนพ่ายนั้น มีร่ายนำ 1 บท แล้วมีร่ายแทรกตอนปลายๆ (ไม่ใช่ท้ายเรื่อง)กลางเรื่องอีก 1 บทเท่านั้น ส่วนลิลิตพระลอนั้น แต่งด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพอย่างหลากหลาย สลับเป็นช่วงๆ (โปรดอ่านรายละเอียดในหัวข้อ ลิลิตพระลอ) มีทั้งโคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ นอกจากนี้ยังมีร่ายสอดสร้อยอีกด้วย
        ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ให้เป็นยอดแห่ง ลิลิต เมื่อ พ.ศ. 2459 แต่งขึ้นอย่างประณีต งดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือโศกนาฏกรรม และแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอยังเคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์
        ในวรรณคดีประเภทลิลิตแล้ว ลิลิตพระลอนั้นนับว่าเป็นลิลิตที่มีศิลปะในการเรียบเรียงได้ไพเราะจับใจยิ่งนัก จนวรรณคดีสโมสรได้ตัดสินเมื่อ พ.ศ. 2459 ว่าลิลิตพระลอนั้นเป็นยอดในกระบวนกลอนลิลิตทั้งหลาย ในเพชรพระอุมานั้นมีการกล่าวถึงลิลิตพระลอในตอนที่คณะเดินทางได้พบกับเสือโคร่งดำหรืออีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าผีดิบมันตรัยนั่นเอง ระหว่างการเดินทาง เจ้าเสือโคร่งดำนั้นพยายามหลอกล่อให้รพินทร์ออกไปตามมัน เพื่อจะได้อยู่ห่างจากคณะจนทำให้ เชษฐาต้องเข้ามาเตือนรพินทร์และไม่ให้ออกจากขบวนเด็ดขาดโดยกล่าวว่า'พระลอตามไก่เมื่อนั้น"
ผู้แต่งและปีที่แต่ง
        ทั้งเรื่องผู้แต่งและปีที่แต่ง ไม่ปรากฏหลักการหรือข้อความระบุที่ชัดเจน แต่อาจอาศัยเนื้อเรื่องที่ระบุถึงสงครามระหว่างไทยและเชียงใหม่มาเป็นจุดอ้างอิง ซึ่งเดิมนั้นเชื่อว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231)แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงกันมาจวบจนปัจจุบัน นักจารณ์วรรณคดีส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า ลิลิตพระลอแต่งขึ้นในสมัยอยุธยาแน่ แต่ยังมีบางท่านเสนอเวลาที่ใหม่กว่านั้น ว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ยังมีผู้คล้อยตามไม่มากนัก
ทำนองแต่ง
        แต่งเป็นลิลิตสุภาพ ซึ่งประกอบด้วยร่ายสุภาพ และโครงสุภาพ อีกทั้งมีบางตอนก็เป็นร่านดั้นและร่ายโบราณ
วัตถุประสงค์ในการแต่ง
        เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงอ่านเป็นที่สำราญพระทัย
ภาษาสำนวนในลิลิตพระลอ
        อ่านเข้าใจได้ง่ายกว่าวรรณกรรมเรื่องอื่นๆ ในสมัยอยุธยา แต่ก็ยังมีศัพท์ยาก และศัพท์โบราณอยู่บ้าง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุให้นักวิจารณ์บางท่านเสนอว่า ลิลิตพระลอแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์
คำประพันธ์
        คำประพันธ์ในเรื่องลิลิตพระลอ เป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพร่ายสอดสร้อยโคลงสองสุภาพโคลงสามสุภาพ และ โคลงสี่สุภาพ สลับกันตามจังหวะ ลีลา และเนื้อหาของเรื่อง
เนื้อหา

        ลิลิตพระลอเป็นเรื่องรักโศก บรรยายถึงความรักระหว่างพระเอก คือ พระลอ และนางเอกสองคน คือ พระเพื่อน และพระแพง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความรักของหญิงชายอีกสองคู่ คือ นางรื่น นางโรย และนายแก้ว นายขวัญ พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง และพระลอ ตามลำดับ

เรื่องย่อ




เมืองสรวงและเมืองสรองเป็นศัตรูกัน พระลอ  กษัตริย์เมืองสรวงทรงพระสิริโฉมยิ่งนัก จนเป็นที่ต้องพระทัยของพระเพื่อนพระแพงราชธิดาของท้าวพิชัยพิษณุกร  กษัตริย์แห่งเมืองสรอง นางรื่นนางโรย  พระพี่เลี้ยงได้ขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอเสด็จ มาเมืองสรวง   เมื่อพระลอต้องเสน่ห์ได้ตรัสลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และนางลักษณวดีมเหสี เสด็จไปเมืองสรองพร้อมกับนายแก้วนายขวัญพระพี่เลี้ยง  พระลอทรงเสี่ยงทายน้ำที่แม่น้ำกาหลง ถึงแม้จะปรากฏรางร้ายก็ทรงฝืนพระทัยเสด็จต่อไป ไก่ผีของปู่เจ้าสมิงพรายล่อพระลอกับนายแก้วนายขวัญไปจนถึงสวนหล วง   นางรื่นนางโรยพี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง  ออกอุบายลอบนำพระลอกับนายแก้วนายขวัญไปไว้ในตำหนักของพระเพื่อน พระแพง   ท้าวพิชัยพิษณุกรทรงทราบเรื่องก็ทรงพระเมตตารับสั่งจะจัดการอภิเษกพระลอกับพระเพื่อนและพระแพงให้    แต่พระเจ้าย่าเลี้ยงของพระเพื่อนพระแพงยังทรงพยาบาทพระลอ   อ้างรับสั่งท้าวพิชัยพิษณุกรตรัสสั่งใช้ให้ทหารไปรุมจับพระลอ พระเพื่อนพระแพงและพี่เลี้ยง   พระลอ  พระเพื่อน  พระแพง และพี่เลี้ยงทั้งสี่ช่วยกันต่อสู้จนสิ้นชีวิตทั้งหมด   ท้าวพิชัยพิษณุกรพิโรธพระเจ้าย่าและทหาร   รับสั่งให้ประหารชีวิตทุกคน   พระนางบุญเหลือทรงส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์ทั้งสาม ในที่สุดเมืองสรวงและเมืองสรองก็กลับมาเป็นไมตรีต่อกัน

คุณค่าของลิลิตพระลอ



          1. ในด้านอักษรศาสตร์ นับเป็นวรรณคดีที่ใช้ถ้อยคำได้อย่างไพเราะ ปลุกอารมณ์ร่วมได้ทุกอารมณ์ เป็นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น ๆ มากอย่างบทเสียงลือเสียงเล่าอ้างที่ว่า
                                                       “เสียงลือเสียงเล่าอ้าง       อันใด พี่เอย
                                             เสียงย่อมยอยศใคร                     ทั่วหล้า
                                             สองเขือพี่หลับใหล                     ลืมตื่น ฤาพี่
                                             สองพี่คิดเองอ้า                           อย่าได้ถามเผือ

               แปลความว่า     มีเสียงร่ำลืออ้างถึงอะไรกัน เสียงนั้นยกย่องเกียรติของใครทั่วทั้งพื้นหล้าแผ่นดิน พี่ทั้งสองนอนหลับใหล จนลืมตื่นหรือพี่ พี่ทั้งสองจงคิดเอาเองเถิด อย่าได้ถามน้องเลย    บทนี้เขานับเป็นบทครูที่วรรณคดียุคต่อมาต้องนำมาเป็นแบบอย่าง
                2. ในด้านพระศาสนา    ได้ให้แง่คิดทางศาสนาอย่างเช่นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของชีวิตซึ่งเป็นของแน่ยิ่งกว่าแน่เสียอีก อย่างบทที่ว่า
                                                                    สิ่งใดในโลกล้วน         อนิจจัง
                                                     คงแต่บาปบุญยัง                        เที่ยงแท้
                                                     คือเงาติดตัวตรังตรึง                   แน่นอยู่นา
                                                     ตามแต่บุญบาปแล                     ก่อเกื้อรักษา
                หรือบทที่ว่าด้วยกฎแห่งกรรม
                                                                 ถึงกรรมจักอยู่ได้            ฉันใด พระเอย
                                                         กรรมบ่มีมีใคร                        ฆ่าเข้า
                                                        กุศลส่งสนองไป                      ถึงที่ สุขนา
                                                        บาปส่งจำตกช้า                       ช่วยได้ฉันใด
               3. ในด้านการปกครอง   จะเห็นว่าการปกครองในสมัยนั้น ต่างเมืองต่างก็เป็นอิสระ เป็นใหญ่ ไม่ขึ้นแก่กัน แต่สามารถมีสัมพันธไมตรีกันได้
                4.  ในด้านประวัติศาสตร์   ลิลิตพระลอได้ให้ความรู้ในทางประวัติศาสตร์ของไทยได้ในแง่มุมต่าง ๆ โดยเฉพาะทำให้รู้เรื่องราวความเป็นมาของเมืองสรวงและเมืองสรองอันได้แก่ ลำปางและแพร่
                5. ในด้านวิถีชีวิต   ได้มองเห็นถึงความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้นที่ยังเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มากมีการนับถือผีสางนางไม้ แม้ปัจจุบันก็ยังมีอยู่


คุณค่าของหนังสือ

๑.  ด้านภาษาและสำนวนโวหาร  วรรณคดีเรื่องนี้มีสำนวนโวหารไพเราะ  เนื้อเรื่องดี  การใช้ถ้อยคำปลุกอารมณ์ผู้อ่านได้ดีทั้งอารมณ์โศก  อารมณ์เคียดแค้น  อารมณ์รักและอารมณ์กล้าหาญ
ผู้แต่งถือหลักว่ามนุษย์มีทั้งรัก โลภ โกรธ หลง อยู่เป็นประจำตามวิสัยของมนุษย์ปุถุชนทั่วไป
ตัวละครจึงมีชีวิตเลือดเนื้อเจือด้วยความรัก  ความโลภ  ความโกรธ และความหลง  ดังเช่น  พระนางบุญเหลือมีความรักลูก  ท้าวพิชัยพิษณุกรมีใจนักเลงไม่อาฆาตพยาบาท  พระเจ้าย่ามีความเคียดแค้น  เป็นต้น  หนังสือลิลิตพระลอเป็นหนังสือที่มีคุณค่า   ใช้ถ้อยคำไพเราะกินใจดี  มีความเปรียบเทียบ
ที่คมคาย  จับใจผู้อ่าน  สมดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นเรื่องว่า  “ใครฟังย่อมใหลหลง  ฤาอิ่ม  ฟังนา”  โคลงบางบทได้รับการยกย่องว่าเป็นโคลงครูมาแต่โบราณ  ได้แก่โคลง  “เสียงฤาเสียงเล่าอ้าง  อันใด  พี่เอย”  การใช้ภาษามีถ้อยคำรุ่นเก่าปะปนอยู่มาก  เช่นเดียวกับมหาชาติคำหลวงและลิลิตยวนพ่าย  ทำให้สามารถใช้ศึกษาการใช้คำในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นได้

๒.  ด้านความรู้  ลิลิตพระลอให้ความรู้ด้านต่าง ๆ หลายประการ  ได้แก่

๒.๑  ความรู้ด้านตำนานพื้นเมือง  ลิลิตพระลอเป็นตำนานพื้นเมืองของไทยภาคเหนือ  ฉะนั้นจึงให้ความรู้เกี่ยวกับตำนานหรือนิยายพื้นเมืองแก่ผู้อ่า น

๒.๒  ความรู้ด้านโบราณคดี  ลิลิตพระลอเป็นตำนานพื้นเมืองที่เกิดขึ้นในจังหวัดแพร่และจังหวัด
ลำปาง  ฉะนั้น  สถานที่ของตำนานเรื่องนี้จึงอยู่ที่จังหวัดทั้งสอง  สันนิษฐานกันว่าเมืองสรองคงอยู่ทางตอนเหนือของอำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่  ส่วนเมืองสรวงคงเป็นเมืองในเขตอำเภอ
แจ้ห่ม  จังหวัดลำปาง  และยังให้ความรู้เกี่ยวกับชื่อสถานที่  แม่น้ำ  ตลอดจนมีเจดีย์  ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์บรรจุอัฐิพระลอและพระเพื่อนพระแพง

๒.๓  ความรู้ด้านการรบ  วรรณคดีเรื่องนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับการรบและการต่อสู้สมัยโบรา ณ  มีการใช้อาวุธต่าง ๆ ดังร่ายว่า “ผันเข้าคลุกรุกรบ  หลบหลีกปืนบได้ดอก  หลบหลีกหอกบ่ได้ต้อง  เขาเร่งซ้องเป็นยะยุ่ง  ซ้องหอกพุ่งยะย้าย  ข้างซ้ายเร่งมาหนา  เข้าทุกปลากรุกโรม  สองนายโจมฟั่นเฟื่อง  เครื่องพลัดตัวหัวขาด  เขาก็สาดศรยึง  ตรึงนายแก้วยะยัน

๓.  ด้านสังคมและวัฒนธรรม

๓.๑  การปกครอง  ลิลิตพระลอแสดงให้เห็นถึงลักษณะการปกครองสมัยโบราณ  เมืองทั้งหลายต่างก็เป็นอิสระต่อกัน  มีเจ้าผู้ครองนคร  ดังเช่นเมืองสรองและเมืองสรวง

๓.๒  ชีวิตความเป็นอยู่  ลิลิตพระลอสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่และสภาพสังคมสมัยนั้น  เช่น  การตั้งครรภ์และเลี้ยงลูก
นอกจากจะกล่าวถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่แล้ว  ยังแสดงให้เห็นถึงสภาพของสังคม  เช่น  การนับถือผี  เชื่อไสยศาสตร์  มีการทำเสน่ห์  เป็นต้น  ดังร่ายว่า  “ผีบันดาลไฟคละคลุ้ม  ให้ควันกลุ้มเวหา  ด้วยแรงยาแรงมนต์

๓.๓  ความเชื่อในศาสนา  ลิลิตพระลอ  ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อในพุทธศาสนา  เช่น  ความเชื่อในกฎแห่งกรรม

๓.๔  ขนบธรรมเนียมประเพณี  วรรณคดีเรื่องนี้เป็นเรื่องทางภาคเหนือ  จึงมีวัฒนธรรมประเพณีทางภาคเหนืออยู่มาก เช่น  การขับซอยอยศและยังมีประเพณีการทำศพในสมัยโบราณ  ดังเช่น  การทำศพของพระลอ  พระเพื่อนพระแพง  เป็นต้น

๓.๕  คติธรรม  ลิลิตพระลอให้คติธรรมในการดำเนินชีวิตหลายประการ  เช่น  กล่าวถึงธรรมะของผู้ใหญ่  ดังเช่นในร่ายว่า  “อย่าให้ยากแก่ใจไพร่  ไต่ความเมืองจึงตรง  ดำรงพิภพให้เย็น  ดับเข็ญนอกเข็ญใน

๔.  ด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น

๔.๑  ลิลิตพระลอเป็นตัวอย่างของการแต่งคำประพันธ์ในยุคหลัง  กวียุคหลังถือโคลงในลิลิตพระลอเป็นแบบอย่างของการแต่งคำประพันธ์ที่ถูกต้องตามหลักฉันทลักษณ์  เช่น  พระโหราธิบดี  ได้นำโคลงไปไว้ในหนังสือจินดามณี  ได้แก่ โคลง “เสียงฤาเสียงเล่าอ้าง  อันใด  พี่เอย”  โคลงบางบทดีเด่นในเรื่องการเล่นสัมผัสอักษร  การเดินทางของพระลอมีลีลาแบบนิราศ  เช่นเดียวกับการเดินทางของพระมหาอุปราชในลิลิตตะเลงพ่าย  มีลีลาเป็นนิราศเช่นเดียวกับลิลิตพระลอ  และโคลงบางบทถือเป็นครูของวรรณคดียุคหลัง  เช่น  บุญเจ้าจอมโลกเลี้ยง   โลกา (ลิลิตพระลอ)  บุญเจ้าจอมภพพื้น   แผ่นสยาม  (ลิลิตตะเลงพ่าย)  เล็บมือนางนี้ดั่ง     เล็บนาง  เรียมนา (ลิลิตพระลอ) เล็บมือนางนี้หนึ่ง     นขา  นางฤา  (ลิลิตตะเลงพ่าย)

๔.๒  การสร้างสรรค์วรรณคดีอื่นและสิ่งบันเทิงใจด้านต่าง ๆ  ลิลิตพระลอทำให้มีวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น  บทละครเรื่องพระลอนรลักษณ์  ของสมเด็จพระวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์  ในรัชกาลที่ ๓,  บทละครเรื่องพระลอ  ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระนราธิปพันธ์พงศ์  สำนวนหนึ่ง  และบทละครเรื่องพระลอ  ของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน  กุญชร)  อีกสำนวนหนึ่ง  ในสมัยรัชกาลที่ ๕  พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร  ทรงแปลพระลอเป็นบทละครภาษาอังกฤษ ชื่อ The  Magic  Lotus   ส่วนทางภาคเหนือมีโคลงพระลอสอนโลก  และซอเรื่องพระลอ (คำว่า “ซอ” เป็นบทลำนำของไทยภาคเหนือ) นอกจากนั้นยังมีภาพเขียน  บทเพลง  ภาพยนตร์  เกี่ยวกับเรื่องพระลออีกด้วย


บทวิเคราะห์ด้านเนื้อหา


๑) รูปแบบ ลิลิตตะเลงพ่ายแต่งเป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพ ได้แก่ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพและโคลงสี่สุภาพสลับกันตามความเหมาะสมของเนื้อหา ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีแนวประวัติศาสตร์และเป็นวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติที่มุ่งสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช การที่ผู้แต่งเลือกใช้คำประพันธ์ประเภทร่ายสุภาพและโคลงสุภาพในงานประพันธ์ จึงนับว่าเหมาะสมอย่างยิ่งเพราะคำประพันธ์ทั้งสองประเภทนี้นิยมใช้ในการพรรณนาเรื่องราวที่สูงส่ง ศักดิ์สิทธิ์
  ๒) องค์ประกอบของเรื่อง
                   ๒.๑)  สาระ แก่นสำคัญของลิลิตตะเลงพ่าย คือ การยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในด้านพระปรีชาสามารถทางการรบ โดยการกระทำสงครามยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีและได้รับชัยชนะอย่างงดงาม นอกจากพระปรีชาสามารถทางการรบแล้ว ผู้แต่งยังได้เน้นพระปรีชาสามารถในด้านการปกครองและพระจริยวัตรอันกอปรด้วยทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ สังคหวัตถุ ๔ ประการ และพระจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ
                   ๒.๒)  โครงเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนำมาจากประวัติศาสตร์ ซึ่งมีขอบเขตกำหนดเนื้อกาไว้เพียงเรื่องการทำสงครามยุทธหัตถี แต่เพื่อมิให้เนื้อเรื่องแห้งแล้งขาดชีวิตชีวาจึงทรงเพิ่มเติมเรื่องที่ไม่ใช่การสงครามเข้าไป เนื้อหาที่สำคัญเป็นหลักของเรื่อง ตะเลงพ่ายคือ การดำเนินความตามเค้าเรื่องพงศาวดาร ได้แก่ การทำสงคราม การต่อสู้แบบยุทธหัตถี การจัดทัพ และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามตำราพิชัยสงครามและโบราณราชประเพณีทุกอย่าง สำหรับเนื้อหาที่เป็นส่วนเพิ่มเติมส่วนเสริมเรื่อง คือ บทประพันธ์ที่เป็นลักษณะนิราศ ซึ่งพรรณนาเกี่ยวกับการเดินทางและการคร่ำครวญถึงนางผู้เป็นที่รักโดยผ่านบทบาทของพระมหาอุปราชา

 ๒.๓)  ตัวละคร
         สมเด็จพระนเรศวร
๑)      มีความเป็นนักปกครองที่ดี ทรงเลือกใช้คนโดยพิจารณาจากคุณวุฒิรวมถึงทรงปรับปรุงตำราพิชัยสงครามจากของเดิมให้เหมาะสม และรัดกุมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จากบทประพันธ์บางตอนยังแสดงให้เห็นว่าทรงเป็นนักปกครองที่พร้อมรับฟังความเห็นของขุนนางและข้าราชบริพาร ดังบทประพันธ์นี้


                                                                        ทั้งมวลหมู่มาตย์ซ้อง                                    สารพลัน
                                                                         ทูลพระจอมจรรโลง                                     เลื่องหล้า
                                                                         แถลงลักษณะปางบรรพ์                               มาเทียบ ถวายแฮ
                                                                         แนะที่ควรเสด็จค้า                                        เศิกไซร้ไกลกรุง


๒) มีความเป็นนักรบ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นนักรบที่แท้จริง เพราะทรงรอบรู้เรื่องกระบวนศึก การจัดทัพ การเคลื่อนทัพ การตั้งค่ายตามตำราพิชัยสงครามที่สำคัญคือ พระองค์มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นเกรงต่อข้าศึก แม้จะอยู่ในลักษณะเสียเปรียบก็ไม่เกรงกลัว แต่กลับใช้บุคลิกภาพอันกล้าหาญของพระองค์เผชิญกับข้าศึกด้วยพระทัยที่มั่นคงเข้มแข็ง ดังตอนที่พระองค์ตกอยู่ในวงล้อมของกองทัพพม่ามอญ
                                                                                          สองสุริยพงศ์ผ่านหล้า                ขับคเซิ นทร์บ่ายหน้า
                                                                         แขกเจ้าจอมตะเลง                                       แลนา
                                                                                          ไป่เกรงประภาพเท่าเผ้า              พักตร์ท่านผ่องฤาเศร้า
                                                                        สู่เสี้ยนไป่หนี                                               หน้านา
                                                                                          ไพรีเร่งสาดซ้อง                         โซรมปืนไฟไป่ต้อง
                                                                          ตื่นเต้นแตกฉาน                                          ผ้านนา


                                    ๓) มีพระปรีชาญาณ คือ ความฉลาด รอบรู้ มีไหวพริบ สมเด็จพระนเรศวรทรงมีพระปรีชาญาณในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการทำศึกสงครามพระองค์ทรงสุขุม รอบคอบ ทำการศึกโดยไม่วู่วามขาดสติ ทรงพิจารณาอุบายกลศึกด้วยความรู้และประสบการณ์อย่างแท้จริง ตอนที่แสดงให้เห็นความมีพระปรีชาญาณของพระองค์ เช่น ตอนที่พระองค์ตกอยู่ในวงล้อมของข้าศึก พระองค์ทรงเห็นนายทัพฝั่งตรงข้ามที่ขี่ช้างมีฉัตรกั้นถึงสิบหกเชือก ยากที่จะแยกแยะได้ว่าใครเป็นใคร แต่ด้วยพระปรีชาญาณและช่างสังเกตก็เห็นนายทัพคนหนึ่งขี่ช้างมีฉัตรกั้นอยู่ใต้ร่มไม้ข่อย มีพลทหารสี่เหล่าเรียงรายอยู่จำนวนมากจึงคาดว่านายทัพคนนั้นคือ พระมหาอุปราชาแน่นอน จึงตรงเข้าไปทรงท้าพระมหาอุปราชากระทำยุทธหัตถีด้วยวาจาสุภาพ อ่อนโยนและให้เกียรติ ซึ่งแสดงถึงพระปรีชาญาณและไหวพริบของพระองค์อย่างดียิ่ง ดังตัวอย่าง

                                                                                                  ปิ่นสยามยลแท้ท่าน                 คะเนนึก อยู่นา
                                                                                 ถวิลว่าขุนศึกสำ                                        นักโน้น
                                                                                 ทวนทัพเทียบพันลึก                                 แลหลาก หลายแฮ
                                                                                 ครบเครื่องอุปโภคโพ้น                             เพ่งเพี้ยงพิศวง

                               พระมหาอุปราชา
  ๑) เป็นลูกกตัญญู พระมหาอุปราชาทรงเกรงสมเด็จพระนเรศวรในเรื่องฝีมือและความอาจหาญ แต่จำเป็นต้องยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา เพราะขัดพระบรมราชโองการไม่ได้ ในระหว่างเดินทัพมาได้เกิดลางร้ายต่างๆ พระมหาอุปราชาเกิดความโศกเศร้าเสียพระทัพเพราะไม่มั่นพระทัพว่าจะได้รับชัยชนะ ทำให้ทรงห่วงใยพระราชบิดายิ่งนัก ข้อความที่แสดงให้เห็นความกตัญญูของพระมหาอุปราชา คือ ตอนที่คร่ำครวญถึงพระราชบิดาว่าจะว้าเหว่และขาดคู่คิดในการทำสงคราม และพระองค์เองก็ไม่สามารถทดแทนบุญคุณของพระบิดาได้  
                                                                                        พระเนานัคเรศอ้า                              เอองค์
                                                                             ฤาบ่มีใครคง                                                คู่ร้อน
                                                                             จักริจักเริ่มรงค์                                            ฤาลุ แล้วแฮ
                                                                             พระจักขุ่นจักข้อน                                      จักแค้นคับทรวง
                                                                                          พระคุณตวงเพียบพื้น                     ภูวดล
                                                                             เต็มตรลอดแหล่งบน                                   บ่อนใต้
                                                                             พระเกิดพระก่อนชนม์                                ชุบชีพ มานา
                                                                              เกรงบ่ทันลูกได้                                          กลับเต้าตอบสนอง
  

       ๒)  มีพระทัยอ่อนไหว พระมหาอุปราชาทรงพระทมทุกข์มาก ไม่ต้องการออกรบ เพราะเสียขวัญกำลังใจจากการที่โหรทำนายว่าจะถึงฆาต สูญเสีความภูมิใจในฐานะพระโอรสแห่งกษัตริย์หงสาวดี เพราะถูกเยาะเย้ยให้อับอายในที่ประชุมขุนนาง พระองค์ทรงมีแต่ความเศร้าโศกเสียพระทัยที่ต้องจากบ้านเมือง จากความสุขสบายที่เคยได้รับ เมื่อใช้ชีวิตอยู่ในวังพรั่งพร้อมด้วยพระสนม เพราะเป็นคนที่อ่อนไหวในอารมณ์ ทำให้ระทมทุกข์ ขณะเดินทางก็คิดถึงนางอันเป็นที่รักด้วยความอาลัยอาวรณ์ตลอดเวลา พบเห็นสิ่งใดก็อดไม่ได้ที่จะนำมาเปรียบเทียบกับความรัก ความคิดถึงที่พระองค์มีให้แก่พระสนม
                                                                                       มาเดียวเปลี่ยวอกอ้า                             อายสู
                                                                             สถิตอยู่เอ้องค์ดู                                             ละห้อย
                                                                             พิศโพ้นพฤกษ์พบู                                         บานเบิก ใจนา
                                                                             พลางคะนึงนุชน้อย                                       แน่งเนื้อนวลสงวน
                                  ๓) มีขัตติยมานะ คือ การถือตัวว่าเป็นกษัตริย์ ถึงแม้พระมหาอุปราชาจะมีความประหวั่นพรั่นพรึงว่าจะต้องสูญเสียชีวิตในการทำศึกสงคราม และมีความโศกเศร้าสักเพียงใด แต่ด้วยขัตติยมานะ พระองค์ก็เดินทัพไปด้วยความหยิ่งทะนงในพระองค์เอง ขัตติยมานะของพระองค์ทำให้เมื่อพระองค์ทราบแน่ชัดว่าผู้ใดเป็นจอมทัพฝ่ายไทย ก็วางแผนทำศึกทันทีทั้งๆที่ยังมีความหวาดหวั่นในพระทัยอยู่
                  ครั้นพระบาทได้สดับ ธก็ทราบสรรพโดยควร ว่านเรศวรกษัตรา กับเอกาทศรุถ ยกมายุทธ์แย้งรงค์ แล้วพระองค์ตรัสถาม สามสมิงนายกองม้า ถ้าจักประมาณพลไกร สักเท่าใดดูตระหนัก ตรัสซ้ำซักเขาสนอง ว่าพลผองทั้งเสร็จ ประมาณสิบเจ็ดสิบแปดหมื่น ดูดาษดื่นท่งกว้าง ครั้นเจ้าช้างทรงสดับ ธก็ตรัสแก่ขุนทัพขุนกอง ว่าซึ่งสองกษัตริย์กล้า ออกมาถ้ารอรับ เป็นพยุหทัพใหญ่ยง คงเขาน้อยกว่าเรา มากกว่าเขาหลายส่วน จำเราด่วนจู่โจม โหมหักเอาแต่แรก ตีให้แตกย่นย่อย ค่อยเบาแรงเบามือ เร็วเร่งฮือเข้าห้อม ล้อมกรุงเทพทวารัติ ชิงเอาฉัตรตัดเข็ญ เห็นได้เวียงโดยสะดวก แล้วธส่งพวกขุนพล เทียบพหลทุกทัพ สรรพแต่สามยามเสร็จ ตีสิบเอ็ดนาฬิกา จักยาตราทัพขันธ์ กันเอารุ่งไว้หน้า เร็วเร่งจัดอย่าช้า พรุ่งเช้าเราตี เทอญนา 



                      ๒.๔) ฉากและบรรยากาศ ฉากที่ปรากฏในเรื่องตอนที่เรียน คือ เหตุการณ์ภายในเมืองมอญและบรรยากาศระหว่างการเดินทัพของพระมหาอุปราชาจากเมืองมอญสู่กาญจนบุรี ผู้แต่งได้บรรยายฉากและบรรยากาศได้สมจริงสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
เหตุการณ์ภายในเมืองมอญ
                  ฝ่ายพระนครรามัญ ขัณฑ์เขตด้าวอัสดง หงสาวดีบุเรศ รั่วรู้เหตุบมิหึง แห่งเอิกอึงกิดาการ ฝ่ายพสุธารออกทิศ ว่าอดิศวรกษัตรา มหาธรรมราชนรินทร์ เจ้าปัฐพินทร์ผ่านทวีป ดีบชนมชีพพิราลัย เอารสไทนฤเบศ นเรศวรเสวยศวรรยา แจ้งกิจจาตระหนัก จึ่งพระปิ่นปีกธาษตรี บุรีรัตนหงสา ธก็บัญชาพิภาษ ด้วยมวลมาตยากร ว่านครรามินทร์ ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราช เยียววิวาทชิงฉัตร เพื่อกษัตริย์สองสู้ บร้างรู้เหตุผล ควรยาตรพลไปเยือน เตือนประยุทธ์เอาเปรียบ แม้นไป่เรียบเป็นที โจมจู่ยีย่ำภพ เสนีนบนึกชอบ ระบอบเบื้องบรรหาร ธก็เอื้อนสารเสาวพจน์ แด่เอารสยศเยศ องค์อิศเรศอุปราช ให้ยกยาตราทัพ กับนครเชียงใหม่ เป็นพยุหใหญ่ห้าแสน ไปเหยียบแดนปราจีน
การเดินทัพของพระมหาอุปราชาจากเมืองมอญสู่กาญจนบุรี
                                                                                      ล่วงลุด่านเจดีย์                          สามองค์มีแห่งหั้น
                                                                     แดนต่อแดนกันนั้น                                     เพื่อรู้ราวทาง
                                                                     ขับพลวางเข้าแหล่ง                                    แห่งอยุธเยศหล้า
                                                                     แลธุลีฟุ้งฟ้า                                                มืดคลุ้มมัวมล ยิ่งนา



     ๒.๕) กลวิธีในการแต่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงดำเนินเรื่องตามธรรมเนียมนิยมในการแต่ง กล่าวคือ เริ่มด้วยบทสดุดี มีเนื้อเรื่องและตอนท้ายกล่าวสดุดีสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและจบด้วยการกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของกวี บอกชื่อความเป็นมาและคำอธิษฐานของพระองค์ท่าน การนำเสนอเรื่อง พระองค์ไม่ได้สอดแทรกคพวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ ลงไป คือ ไม่นำตัวตนของกวีไปแทรกในเรื่อง
       การสร้างและให้บทบาทบุคคลในเรื่อง กวีมุ่งแสดงให้เห็นพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงมีการแทรกเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ พระปรีชาสามารถในการใช้คำพูดโดยใช้หลักจิตวิทยาในการท้าพระมหาอุปราชาออกรบและความกล้าหาญ ดังนั้น บทบาทของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงเป็นประดุจสมมติเทพและเป็นบุคคลตามอุดมคติ ในการทำสงครามก็ตรัสปรึกษาแม่ทัพนายกองและพระองค์ก็เป็นผู้ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา เมือทรงลงโทษประหารชีวิตทหารที่ติดตามพระองค์ไม่ทัน ก็ให้รอพ้นวันพระเสียก่อน เป็นต้น และเมื่อได้ฟังคำขอพระราชทานอภัยโทษจากสมเด็จพระวันรัตก็พระราชทานอภัยโทษให้โดยไม่มีทิฐิทำให้พระเกียรติคุณของพระองค์ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น
ที่มา: https://sites.google.com/a/htp.ac.th/lilitalangpai/9-bth-wikheraah/8-1-dan-neuxha

ความเป็นมาของลิลิต

       ไม่ปรากฏแน่ชัด โดยสืบค้นได้เก่าสุดถึง สมัยอยุธยา ได้แก่   ลิลิตยวนพ่าย   และลิลิตพระลอ (สำหรับอายุของลิลิตพระลอยังเป็นที่ถกเถี...